ในประเทศฝรั่งเศส บุคคลสัญชาติฝรั่งเศสจะสามารถทำการติดต่อขอสำเนาสูติบัตร (ใบเกิด) ได้อยู่เสมอเมื่อต้องการ โดยทำการยื่นคำร้องขอผ่านทางอำเภอที่เกิด (Mairie) โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด บางแห่งอาจจะให้ทำการติดต่อด้วยตนเอง บางแห่งอาจจะร้องขอให้ทำเรื่องผ่านอินเตอร์เนต เป็นต้น

บนสำเนาสูติบัตรฝรั่งเศส จะมีวันที่ที่ทำการออกเอกสารกำกับไว้

ตัวอย่างวันที่กำกับลงบนสำเนาสูติบัตรของชาวฝรั่งเศส

ในประเทศฝรั่งเศส หลายหน่วยงานภาครัฐบาลของประเทศฝรั่งเศส เช่น la Préfecture, la Mairie เป็นต้น มักจะขอเอกสารที่มีตราประทับรับรองจากกระทรวงต่างประเทศของไทยดังนี้ :  

ตราประทับกงสุลของกระทรวงต่างประเทศของไทย จำเป็นหรือไม่?

ทำไมถึงมีวันที่กำกับ?

เพราะหน่วยงานของฝรั่งเศสมักจะร้องขอเอกสารสูติบัตรหรือใบเกิดที่มีอายุไม่เกิน 3 เดือน

ทำไมถึงต้องใช้เอกสารที่ไม่เกิน 3 เดือน?

เพราะบนสูติบัตรของชาวฝรั่งเศส จะมีการระบุหมายเหตุ (mentions marginales) เช่น สมรสกับใครวันที่เท่าไหร่, หย่ากับใคร, จดทะเบียน PACS กับใคร, เปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล ฯลฯ

สรุปได้ว่าสูติบัตรของชาวฝรั่งเศสมีการ”เปลี่ยนแปลง” หรือ “อัปเดตข้อมูล” ตลอดเวลา

ตัวอย่างข้อความหมายเหตุบนสูติบัตร

Acte de naissance mention

แล้วสำหรับชาวไทย สูติบัตรของชาวไทยจะออกให้เพียงครั้งเดียวตอนเกิด และจะไม่มีการระบุข้อความหมายเหตุใด หากมีการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ของตัวเอง เช่น การสมรสหรือการหย่า

ตัวอย่างสูติบัตรไทยปกติ

ปัญหาที่ชาวไทยจะพบเจอ คือทางหน่วยงานฝรั่งเศสจะขอเอกสารสูติบัตรที่มีอายุไม่เกิน 3 เดือน เราจะต้องทำอย่างไรในกรณีนี้?

ท่านสามารถนำสำเนาสูติบัตรไทยของท่านไปรับรองเอกสารผ่านกระทรวงต่างประเทศของไทย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ : ตราประทับกงสุลของกระทรวงต่างประเทศของไทย จำเป็นหรือไม่?

เมื่อได้รับการรับรองจากกระทรวงต่างประเทศแล้ว บนตราของกระทรวง จะมีการระบุวันที่ไว้ และตรงจุดนี้เองที่หน่วยงานฝรั่งเศสจะพิจารณาว่าเอกสารนั้นมีอายุไม่เกิน 3 เดือนตามร้องขอ

ตัวอย่างวันที่บนตราประทับกระทรวงต่างประเทศของไทย

Tampon consulat thai

เช่นเดียวกัน หากสูติบัตรไทยของท่านหาย หรือท่านไม่มีสูติบัตรไทย หรือสูติบัตรไทยของท่านไม่ชัดเจนหรือขาดหรือเก่าเกินไปจนไม่สามารถอ่านรายละเอียดข้อมูลบนนั้นได้

ท่านสามารถติดต่ออำเภอที่ประเทศไทยที่ท่านเกิด เพื่อให้ทางอำเภอออกเอกสารที่มีชื่อว่า “หนังสือรับรองการเกิด” โดยภายในเอกสารนี้ จะมีรายละเอียดบุคคลของตน พร้อมรายละเอียดของบิดาและมารดาของท่าน รวมทั้งยังมีข้อมูลของบุคคลที่เป็นพยานในการดำเนินเรื่องขอเอกสารในครั้งนี้

*บางอำเภอในประเทศไทย ต้องการให้มีพยานอย่างน้อย 2 ท่าน ในครั้งนี้

*บางอำเภอในประเทศไทย ต้องการให้มีพยานอย่างน้อย 2 ท่าน ในการยื่นขอเอกสาร

ตัวอย่างหนังสือรับรองการเกิดไทย

Acte de naissance 5

จากนั้นท่านสามารถนำเอกสารไปรับรองจากทางกระทรวงต่างประเทศเช่นเดิม ก่อนจะนำมายื่นกับหน่วยงานฝรั่งเศส

ในส่วนนี้ หากท่านต้องการยื่นเอกสารติดต่อหน่วยงานรัฐบาลหรือเอกชนของประเทศฝรั่งเศสในประเทศฝรั่งเศส เอกสารทุกชนิดจะต้องได้รับการแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสก่อนทุกใบ โดยนักแปลขึ้นทะเบียนศาลในฝรั่งเศส (Traducteur assermenté) หากต้องการใช้บริการ แปลเอกสารจากภาษาไทย เป็นภาษาฝรั่งเศส  เพื่อยื่นติดต่อหน่วยงานรัฐบาลของฝรั่งเศส ท่านสามารถติดต่อได้ด้านล่างนี้ได้เลยครับ