ทั้งแบบ Retirement (สำหรับคนต่างด้าวอายุเกิน ๕๐ ปีขึ้นไป) และ Spouse (สำหรับติดตามคู่สมรสสัญชาติไทย)

๑.ทำเมื่อยังอยู่ประเทศฝรั่งเศส

๑.๑ เตรียมเอกสารตามประเภทวีซ่าที่ต้องการขอจากประเทศฝรั่งเศส
๑.๑.๑ การเตรียมเอกสารสำหรับขอวีซ่าเกษียณ
๑.๑.๒ การเตรียมเอกสารสำหรับขอวีซ่าติดตามคู่สมรส

๑.๒ สมัครแอคเคานต์ ด้วยอีเมล และกำหนดรหัสผ่าน กับเว็บไซต์ Thai E-Visa
ของกระทรวงต่างประเทศ

๑.๓ เลือกประเภทของวีซ่าที่ต้องการสมัคร ในเว็บไซต์

๑.๔ อัพโหลดเอกสารต่างๆที่เตรียมไว้ในข้อ ๑.๑ เข้าในระบบ

๑.๕ ชำระเงินค่าตรวจลงตรา ประเภทเข้าออกครั้งเดียว Single Entry ๗๐ ยูโร ด้วยบัตร

๑.๖ รับใบเสร็จการชำระค่าวีซ่าผ่านอีเมลที่ใช้สมัคร

๑.๗ เมื่อได้การตรวจลงตราอิเล็กทรอนิกส์ทางอีเมลและในระบบแล้ว ในระยะเวลา ๓๐ ถึง ๓๑ วัน
ให้พิมพ์ออกมาและเย็บไว้กับหนังสือเดินทางเสมอ
ในใบวีซ่า จะระบุว่าเมื่อได้รับวีซ่าแล้ว ต้องใช้เดินทางเข้าประเทศไทยภายในวันไหน เกินกว่านั้นก็จะถือว่าวีซ่าหมดอายุ

๒.เมื่อเดินทางเข้าประเทศไทย

๒.๑ ชาวฝรั่งเศสนำหนังสือเดินทางและตรวจลงตราอิเล็ทรอนิกส์ให้เจ้าหน้าที่ เพื่อประทับตรา
ในตราประทับมี “วันที่เข้ามาประเทศไทย” และ “วันที่อนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยวันสุดท้าย”
ให้ถ่ายรูปเก็บไว้ทันทีตั้งแต่วันแรกที่มาถึง เผื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน

๒.๒ เมื่อชาวฝรั่งเศสไปถึงที่พักแล้ว ที่ไม่ใช่โรงแรม
หากเป็นบ้านพักส่วนตัวที่ชาวฝรั่งเศสไม่ได้เป็นเจ้าบ้าน หรือ คนไทยเป็นเจ้าบ้าน ต้องแจ้ง กับ
สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในพื้นที่ที่คนฝรั่งเศสพัก ภายใน ๒๔ ชั่วโมงเมื่อถึงประเทศไทย

๒.๒.๑ เตรียมเอกสารเพื่อแจ้งว่ามีคนต่างด้าวเข้าพักในที่ของตน กรอกใบ ตม ๓๐ เขียนรายละเอียดทั้งผู้ให้พำนัก (เจ้าบ้าน) และผู้อาศัยให้เรียบร้อย เตรียมเอกสารยืนยันการเข้าพัก

กรณีผู้ให้พำนักเป็นผู้เช่า ต้องมีสัญญาเช่าบ้านเป็นชื่อตน สำเนาบัตรประชาชนของตน
และของเจ้าของห้อง/เจ้าของบ้าน

กรณีผู้ให้พำนักเป็นเจ้าของบ้านหรือเจ้าของห้อง ต้องมี สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าบ้าน
สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้าน และสามารถเพิ่มเอกสารอย่างอื่น เช่น สำเนาโฉนดหรือหนังสือแสดงสิทธิอาคารชุดให้ชาวฝรั่งเศสถ่ายสำเนาหนังสือเดินทาง หน้าแรกที่มีรูปภาพและรายละเอียดของเจ้าของหนังสือเดินทาง
, หน้าสองที่มีลายเซ็น , หน้าที่มีตราประทับเข้าประเทศไทย โดย ตม สุวรรณภูมิ